บทที่ 116
2 โครินธ์ 8–9
คำนำ
เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนในเมืองโครินธ์ อธิบายว่าสมาชิกในแคว้นมาซิโดเนียบริจาคให้ผู้ขัดสนด้วยใจกว้างขวาง เขากระตุ้นให้วิสุทธิชนชาวโครินธ์ทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดโดยการให้คนยากจน เปาโลสอนเกี่ยวกับพรที่มาสู่คนที่ให้คนยากจนด้วยใจยินดี
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
2 โครินธ์ 8
เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนดูแลคนยากจน
เขียนข้อความต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง (จาก “เราทั้งหลายไม่ได้เป็นขอทานหรอกหรือ?” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 40) บน กระดาน ก่อนชั้นเรียนแต่ละช่องว่างไว้ตรงคำว่า ความยากจน เริ่มชั้นเรียนโดยเชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงข้อความดังกล่าว
ขอให้นักเรียนเดาคำที่หายไปจากข้อความ จากนั้นเขียนคำว่า ความยากจนลงไป
-
ความยากจนคืออะไร (สภาพของการมีเงิน สินค้า หรือสิ่งจุนเจือน้อยนิดหรือไม่มีเลย)
-
เหตุใดความยากจนจึงเป็นเรื่องท้าทาย
กระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงบุคคลที่พวกเขารู้จักที่อาจต้องการความช่วยเหลือไม่ว่าจะแบบใด รวมถึงทางกาย อารมณ์ สังคม หรือทางวิญญาณ เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา 2 โครินธ์ 8–9 ที่จะช่วยพวกเขาเข้าใจและทำบทบาทของพวกเขาในการช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือให้เกิดสัมฤทธิผล
สรุป 2 โครินธ์ 8:1–8 โดยอธิบายว่าเปาโลบอกวิสุทธิชนชาวโครินธ์ว่าสมาชิกศาสนจักรในแคว้นมาซิโดเนียได้ให้ด้วยใจกว้างขวางเพื่อช่วยคนยากไร้ในความต้องการทางโลกของพวกเขา (ท่านอาจต้องการให้นักเรียนหาเมืองโครินธ์และแคว้นมาซิโดเนียในแผนที่พระคัมภีร์ไบเบิล, แผนที่ 13, “เส้นทางในการเผยแผ่ศาสนาของอัครสาวกเปาโล”) เปาโลอธิบายว่าสมาชิกชาวมาซิโดเนียทำเช่นนั้นเพราะพวกเขาปรารถนาจะทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า เขากระตุ้นให้วิสุทธิชนในเมืองโครินธ์ที่จะทำตามตัวอย่างนี้ในการจัดหาเพื่อความต้องการของผู้อื่นจากความรักที่จริงใจ
เขียนคำว่า มั่งคั่ง และ ยากจน บนกระดาน
เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน 2 โครินธ์ 8:9 ในใจ โดยมองหาสิ่งที่เปาโลบอกว่าพระเยซูคริสต์ทรงทำให้วิสุทธิชน หลังจากให้เวลาพอสมควรให้ถามคำถามต่อไปนี้ และเขียนรายการคำตอบของนักเรียนบนกระดานใต้คำว่า มั่งคั่ง และ ยากจน
-
พระเยซูคริสต์ทรงมั่งคั่งในชีวิตก่อนเกิดในทางใดบ้าง (คำตอบของนักเรียนอาจได้แก่ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรที่ถือกำเนิดพระองค์แรกของพระบิดาในวิญญาณและแม้ก่อนที่พระองค์จะประสูติในความเป็นมรรตัย พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยืนอยู่ข้างพระบิดาบนสวรรค์ในสิทธิอำนาจ พลังอำนาจ และรัศมีภาพและทรงสร้างโลกหลายๆ โลกภายใต้การกำกับดูแลของพระบิดา)
-
พระองค์ทรงถูกมองว่ายากจนระหว่างเวลาของพระองค์ในความเป็นมรรตัยในทางใดบ้าง (พระองค์ทรงทิ้งตำแหน่งแห่งรัศมีภาพของพระองค์เพื่อประสูติและทรงพระชนม์ในสภาพต่ำต้อยบนแผ่นดินโลก)
-
ท่านคิดว่าใน ข้อ 9 ที่ว่าเรา “จะได้เป็นคนมั่งคั่ง เนื่องจากความยากจนของ [พระผู้ช่วยให้รอด] หมายความว่าอย่างไร” (เนื่องจากพระเยซูคริสต์เสด็จลงมาจากบัลลังก์ก่อนการประสูติของพระองค์และเสด็จมายังแผ่นดินโลกเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ เป็นแบบอย่างสำหรับพวกเรา และทรงทำการชดใช้ เราสามารถได้รับความมั่งคั่งแห่งชีวิตนิรันดร์)
อธิบายกับนักเรียนว่าประมาณหนึ่งปีก่อนหน้านั้น วิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้คำมั่นที่จะรวบรวมสิ่งของให้วิสุทธิชนที่ยากจนในยูเดีย เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 โครินธ์ 8:10–11 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนในเมืองโครินธ์ทำ
-
เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนในเมืองโครินธ์ทำอะไร
อธิบายว่าวลี “ลงมือทำ” และ “ทำเสียให้เสร็จ” หมายความว่าเปาโลแนะนำวิสุทธิชนให้ทำข้อผูกมัดที่ให้ไว้แล้วให้เกิดสัมฤทธิผล ว่าจะให้สิ่งที่พวกเขาให้ได้แก่วิสุทธิชนที่ยากจน ดังที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานความมั่งคั่งนิรันดร์แก่พวกเขา
-
เกิดอะไรขึ้นกับเราแต่ละคนเมื่อเราเข้าใจทุกสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่เรา (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ เมื่อเราเข้าใจทุกสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่เรา เราจะเต็มใจมากขึ้นที่จะให้สิ่งของที่เรามีแก่ผู้อื่น)
-
การไตร่ตรองถึงของประทานของพระผู้ช่วยให้รอดที่ประทานแก่เราจะกระตุ้นเราในการให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือได้อย่างไร
-
ของประทานอะไรที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่ท่านโดยเฉพาะ ซึ่งอาจดลใจท่านเพื่อให้แก่ผู้อื่น
เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนอ่านออกเสียง 2 โครินธ์ 8:12–15 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาความจริงเพิ่มเติมที่เปาโลสอนผู้คนเกี่ยวกับความสำคัญของการสนับสนุนกันและกันในทางโลก
-
เราสามารถเรียนรู้ความจริงอะไรจาก ข้อ 12–13 (ช่วยนักเรียนระบุความจริงต่อไปนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้เราให้อย่างเต็มใจแม้เราอาจไม่มีอะไรจะให้)
เพื่อช่วยให้ชั้นเรียนเข้าใจความจริงนี้ เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์
“ไม่ว่าจะรวยหรือจน เราต้อง “ทำสุดกำลังของเรา” เมื่อผู้อื่นต้องการความช่วยเหลือ” (“เราทั้งหลายไม่ได้เป็นขอทานหรอกหรือ?” 41)
-
ท่านสามารถทำอะไรให้กับผู้อื่นหากท่านไม่มีสิ่งของทางวัตถุที่จะให้พวกเขา
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 14–15ใครได้ประโยชน์เมื่อวิสุทธิชนทั้งหมดให้คนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง (ใครก็ตามที่อาจต้องการความช่วยเหลือในเวลาใดเวลาหนึ่ง)
-
มีทางใดบ้างที่ทุกคนได้รับประโยชน์เมื่อเราทุกคนเต็มใจที่จะให้
เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงความสำคัญของความจริงและหลักธรรมเหล่านี้พร้อมกับประยุกต์ใช้ ให้อ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์ เชื้อเชิญให้นักเรียนฟังว่าพระเจ้าทรงช่วยเราตอบสนองอย่างการุณย์ต่อคนยากจนได้อย่างไร
“ข้าพเจ้าไม่รู้แน่ชัดว่าท่านแต่ละคนควรทำหน้าที่ของตนอย่างไรต่อผู้ที่ไม่ทำหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ตลอดเวลา แต่ข้าพเจ้าทราบว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงทราบ พระองค์จะทรงช่วยท่านและนำทางท่านในการเป็นสานุศิษย์ที่มีการุณยธรรม หากท่านต้องการและสวดอ้อนวอน และหาวิธีรักษาพระบัญญัติที่พระองค์ประทานแก่เราครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างจริงจัง” (“เราทั้งหลายไม่ได้เป็นขอทานหรอกหรือ?” 41)
-
เอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์กล่าวว่าเราควรทำอะไรเพื่อจะพร้อมช่วยคนยากจนและคนขัดสน
-
มีวิธีใดบ้างที่ศาสนจักรจัดตั้งไว้ซึ่งสามารถช่วยตอบสนองความต้องการของคนยากจน (ผ่านเงินบริจาคอดอาหาร โครงการรับใช้ในท้องที่ และโอกาสทางมนุษยธรรม)
กระตุ้นให้นักเรียนเขียนในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาถึงสิ่งหนึ่งที่พวกเขาวางแผนจะทำตามสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับการให้คนยากจนและคนขัดสน
สรุป 2 โครินธ์ 8:16–24 โดยอธิบายว่าเปาโลพูดกับวิสุทธิชนชาวโครินธ์เกี่ยวกับทิตัสและพี่น้องชายสองคนที่ถูกส่งไปรับเงินบริจาคเพื่อการกุศลสำหรับวิสุทธิชนในกรุงเยรูซาเล็ม เปาโลพูดถึงความมั่นใจของเขาในวิสุทธิชนชาวโครินธ์และอธิบายว่าการให้ด้วยใจกว้างขวางของพวกเขาจะเป็นหลักฐานถึงความรักที่พวกเขามีต่อผู้อื่น
2 โครินธ์ 9
เปาโลสอนเกี่ยวกับพรของการเป็นผู้ให้อย่างจริงใจ
สรุป 2 โครินธ์ 9:1–5 โดยอธิบายว่าเปาโลยังคงสรรเสริญวิสุทธิชนชาวโครินธ์ เขาบอกวิสุทธิชนว่าเขาส่งทิตัสและคนอื่นๆ ไปยืนยันความเต็มใจที่จะให้ด้วยใจกว้างขวาง
ขอให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาเคยให้บางสิ่งแก่คนบางคนหรือรับใช้บางคนอย่างเสียไม่ได้หรือไม่
-
เหตุใดบางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะให้เวลา เงิน หรือทรัพยากรอื่นๆ ของท่านเพื่อช่วยผู้อื่นด้วยความยินดี
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 โครินธ์ 9:6–7 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาการเปรียบเทียบที่เปาโลใช้สอนสมาชิกในเมืองโครินธ์เกี่ยวกับการให้ด้วยใจกว้างขวาง
-
หว่านหมายถึงอะไร (การเพาะเมล็ด)
-
เปาโลเปรียบเทียบการหว่านกับอะไร (การให้ผู้อื่น)
ชูเมล็ดผลไม้หรือผัก หรือแสดง ภาพ เมล็ด
-
ผู้หว่านในการเปรียบเทียบนี้เป็นใคร (วิสุทธิชน หรือเรา)
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 7 พระเจ้าทรงคาดหวังให้เราหว่านหรือให้อย่างไร (ด้วยใจยินดี ไม่ใช่อย่างเสียไม่ได้ ดู โมโรไน 7:8 ด้วย)
เขียนข้อความที่ไม่ครบถ้วนต่อไปนี้บนกระดาน: ถ้าเราให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือด้วยใจยินดี …
-
การให้ผู้อื่นเป็นเหมือนการหว่านเมล็ดในทุ่งอย่างไร
-
เกิดอะไรขึ้นถ้าเราเก็บเกี่ยวได้เพียงเล็กน้อย
-
เกิดอะไรขึ้นถ้าเราเก็บเกี่ยวได้มาก
เติมข้อความบนกระดานให้สมบูรณ์เพื่อสื่อถึงความจริงต่อไปนี้ ถ้าเราให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือด้วยใจยินดี พระผู้เป็นเจ้าจะประทานพรเราอย่างพระทัยกว้าง
-
การให้ผู้อื่นด้วยเจตคติที่ยินดีนำไปสู่การรับมากกว่าเดิมได้อย่างไร
เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 โครินธ์ 9:8–10 ขอให้นักเรียนมองหาพรที่เปาโลบอกว่าจะมาสู่วิสุทธิชนถ้าพวกเขาให้ด้วยใจยินดี
-
มีวลีใดบ้างที่เปาโลใช้เพื่อบรรยายพรที่พระเจ้าประทานแก่คนที่ให้ด้วยใจยินดี (คำตอบอาจได้แก่ “ประทานพรทุกอย่างแก่ท่านทั้งหลายอย่างเหลือล้น” [ข้อ 8], “มีทุกอย่างเพียงพอ” [ข้อ 8], “ความชอบธรรมของเขาดำรงอยู่เป็นนิตย์” [ข้อ 9], และ “เพิ่มพูนเมล็ดพืชของท่าน” [ข้อ 10])
อธิบายว่าวลีเหล่านี้แนะนำว่าเราจะรับพระคุณของพระเจ้า ซึ่งอาจรวมถึงพรทางโลก เพียงพอสำหรับความต้องการของเรา
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 10 ใครคือ “พระองค์ผู้ประทานเมล็ดพืชแก่คนที่หว่าน” (พระเจ้า แสดงภาพเมล็ดอีกครั้ง และอธิบายว่าเราสามารถให้ผู้อื่นเนื่องจากพระเจ้าทรงจัดหาให้เราก่อน)
-
การจดจำว่าทุกสิ่งที่เรามีมาจากไหนช่วยเราให้ด้วยใจยินดีอย่างไร
เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก 2 โครินธ์ 9:11–15 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับวิสุทธิชนเหล่านั้นที่ให้และรับด้วยใจยินดี
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 11–15วิสุทธิชนที่ให้ด้วยใจกว้างขวางและรับสิ่งของจากผู้อื่นรู้สึกอย่างไรต่อพระผู้เป็นเจ้า
ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาทำเครื่องหมายวลีใดๆ ที่แสดงถึงความสำนึกคุณในข้อเหล่านี้ เช่น “ทำให้เกิดการขอบพระคุณพระเจ้าผ่านเรา” (ข้อ 11), “มีการขอบพระคุณพระเจ้าอย่างมากมายเหลือล้น” (ข้อ 12), “พวกเขาจะสรรเสริญพระเจ้า” (ข้อ 13), และ “ขอบพระคุณพระเจ้าเพราะของประทานที่เกินความคาดคิดซึ่งพระองค์ประทาน” (ข้อ 15)
ท่านอาจต้องการแนะนำให้นักเรียนเขียนความจริงต่อไปนี้ในพระคัมภีร์ของพวกเขาใกล้ ข้อ 11–15: การรู้ถึงความโอบอ้อมอารีของพระผู้เป็นเจ้าในการประทานพรแก่เราจะช่วยให้เรารู้สึกสำนึกคุณต่อพระองค์
-
ท่านเคยรู้สึกสำนึกคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าหลังจากรู้ถึงพรที่พระองค์ทรงส่งมาให้ท่านเพื่อรับใช้และให้ผู้อื่นด้วยใจยินดีเมื่อใด
เป็นพยานถึงหลักธรรมและความจริงที่นักเรียนระบุใน 2 โครินธ์ 8–9
กระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงวิธีที่พวกเขาอาจช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือสัปดาห์นี้ เชื้อเชิญให้พวกเขาตั้งเป้าหมายเพื่อช่วยคนนั้น