โกรธ (ความ), กริ้ว (ความ) ดู เกลียดชัง (ความ), ชัง, ดูหมิ่น; รัก (ความ) ด้วย ความโกรธเป็นการแสดงออกของอารมณ์. พระเจ้าทรงเตือนวิสุทธิชนของพระองค์ให้ควบคุมความโกรธ (มธ. ๕:๒๒). ไม่ว่าบิดามารดาหรือลูกก็ไม่ควรทำร้ายบุคคลอื่นในครอบครัว. ในพระคัมภีร์, ความโกรธมักจะใช้ไฟเป็นภาพลักษณ์ในเชิงเปรียบเทียบ (๒ นี. ๑๕:๒๕; คพ. ๑:๑๓). และคาอินก็โกรธแค้นนัก, หน้าบูดบึ้ง, ปฐก. ๔:๕. พระเจ้าทรงกริ้วช้าและมีพระเมตตาอย่างอุดม, สดด. ๑๔๕:๘. คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป, สภษ. ๑๕:๑. คนใจร้อนเร้าการวิวาท, แต่บุคคลผู้โกรธช้าก็ระงับการชิงดี, สภษ. ๑๕:๑๘ (สภษ. ๑๔:๒๙). เพราะเห็นแก่นามของเรา เราจะหน่วงเหนี่ยวความกริ้วของเราไว้, อสย. ๔๘:๙. เรายื่นมือของเราออกตลอดวันต่อชนชาติที่มักกบฏ, อสย. ๖๕:๒–๓. ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน, ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย, มธ. ๕:๓๙. ฝ่ายท่านผู้เป็นบิดา, อย่ายั่วบุตรของตนให้เกิดโทสะ, อฟ. ๖:๔. เพราะข้าพเจ้าบอกความจริงท่าน, ท่านจึงโกรธข้าพเจ้า, โมไซยาห์ ๑๓:๔. เราจะมาเยือนคนพวกนี้ในความโกรธของเรา, แอลมา ๘:๒๙. ความกริ้วของพระองค์จะไม่ดาลเดือดกับผู้ใดเลยนอกจากคนเหล่านั้นที่มิได้สารภาพถึงพระหัตถ์ของพระองค์ในทุกสิ่ง, คพ. ๕๙:๒๑. เรา, พระเจ้า, โกรธคนชั่วร้าย, คพ. ๖๓:๓๒.