คลังค้นคว้า
บทที่ 49: อีนัส


บทที่ 49

อีนัส

คำนำ

หลังจากครุ่นคิดถึงถ้อยคำของบิดา อีนัสสวดอ้อนวอนเพื่อทูลขอและรับการปลดบาปของเขา จากนั้นเขาสวดอ้อนวอนเพื่อความผาสุกทางวิญญาณของชาวนีไฟกับชาวเลมัน และใช้ชีวิตทำงานเพื่อความรอดของคนเหล่านั้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

อีนัส 1:1–8

หลังจากครุ่นคิดถึงถ้อยคำของบิดา อีนัสสวดอ้อนวอนเพื่อทูลขอและรับการปลดบาปของเขา

เขียนคำว่า จิตวิญญาณข้าพเจ้าหิวโหย บนกระดาน เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงเวลาที่พวกเขาหิวโหย

  • ถ้อยคำใดบ้างที่ท่านใช้อธิบายความรู้สึกเวลาที่ท่านหิว (นักเรียนอาจอธิบายว่าความหิวเป็นความรู้สึกถึงความว่างเปล่า เจ็บปวด อ่อนแอ หรือความปรารถนาที่จะได้รับการเติมเต็ม)

  • คนอาจหมายถึงอะไรจากข้อความนี้ “จิตวิญญาณของข้าพเจ้าหิวโหย” (ความรู้สึกว่างเปล่า เจ็บปวด หรืออ่อนแอทางวิญญาณ หรือความปรารถนาที่จะได้รับการเติมเต็มทางวิญญาณ)

Enos Praying

เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงเวลาที่จิตวิญญาณของพวกเขาหิวโหย อธิบายว่าวันนี้พวกเขาจะศึกษากับประสบการณ์ของบุคคลที่มีจิตวิญญาณหิวโหย แสดงภาพอีนัสสวดอ้อนวอน (62604; หนังสือภาพพระกิตติคุณ [2009], หมายเลข 72)

  • ท่านรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับบุคคลในภาพ (ถ้านักเรียนไม่แน่ใจ อธิบายว่านี่คือภาพของอีนัส ผู้เป็นหลานชายของลีไฮกับซาไรยาห์ และเป็นบุตรของเจคอบ บิดาของเขาฝากฝังแผ่นจารึกชุดเล็กไว้กับเขาไม่นานก่อนที่บิดาจะสิ้นชีวิต [ดู เจคอบ 7:27])

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านออกเสียง อีนัส 1:1, 3 ขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าเจคอบมีอิทธิพลต่ออีนัสอย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคนบอกกับชั้นเรียนว่าพวกเขาพบอะไร

ติดแผนภูมิต่อไปนี้บนกระดาน (เพื่อประหยัดเวลา ท่านอาจติดแผนภูมินี้บนกระดานก่อนเริ่มชั้นเรียน) แผนภูมินี้ออกแบบมาเพื่อช่วยกลุ่มนักเรียนให้ความสำคัญกับรายละเอียดที่แตกต่างกันจากประสบการณ์ของอีนัสเมื่อพวกเขาศึกษา อีนัส 1:2–8

อีนัสปรารถนาอะไร

อีนัสทำอะไร

ผลของสิ่งที่อีนัสทำ

อีนัส 1:2

อีนัส 1:3

อีนัส 1:2

อีนัส 1:4

อีนัส 1:8

อีนัส 1:5

อีนัส 1:6

อีนัส 1:8

อธิบายว่าเมื่ออีนัสนึกถึงคำสอนของบิดา เขาประสบความรู้สึกทางวิญญาณที่นำเขาให้ทำบางสิ่ง ซึ่งเกิดผลบางอย่างในชีวิตเขา

แบ่งชั้นเรียนออกเป็นสามกลุ่ม อ่านออกเสียง อีนัส 1:2–8 ขณะที่ท่านอ่านให้กลุ่มหนึ่งมองหาวลีที่ระบุถึงความปรารถนาของอีนัส เชื้อเชิญให้กลุ่มสองมองหาสิ่งที่อีนัสทำ ขอให้กลุ่มสามมองหาผลจากความปรารถนาและการกระทำของอีนัส (อธิบายว่าข้อพระคัมภีร์ที่อยู่ในแผนภูมิมีข้อมูลเกี่ยวกับงานมอบหมายของแต่ละกลุ่ม)

หลังจากท่านอ่าน อีนัส 1:2–8 จบ เชื้อเชิญให้นักเรียนในกลุ่มแรกรายงานข้อความที่พวกเขาพบเกี่ยวกับความปรารถนาของอีนัส ขณะที่นักเรียนกล่าวถึงข้อความเหล่านี้ ให้พวกเขาเขียนข้อความนั้นบนกระดาน ท่านอาจต้องการกระตุ้นให้นักเรียนทำเครื่องหมายข้อความเหล่านี้ในพระคัมภีร์ของพวกเขา นักเรียนอาจพูดถึงข้อความที่ว่า “การปลดบาปของข้าพเจ้า” “ชีวิตนิรันดร์” และปีติของวิสุทธิชน”

หลังจากเขียนคอลัมน์แรกครบแล้ว เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนอ่านข้อความใน อีนัส 1:4 อย่างคร่าวๆ ให้พวกเขาระบุว่าอีนัสประสบกับสิ่งใดดังถ้อยคำของบิดาที่ว่า “เกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์, และปีติของวิสุทธิชน, ฝังลึกอยู่ในใจ [ของท่าน]” (อีนัส 1:3) นักเรียนควรสังเกตเห็นข้อความนี้ “และจิตวิญญาณข้าพเจ้าหิวโหย” (ท่านอาจต้องการกระตุ้นให้นักเรียนทำเครื่องหมายข้อความนี้ในพระคัมภีร์)

  • การครุ่นคิดถึงคำสอนของศาสดาพยากรณ์เกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์และปีติของวิสุทธิชนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตวิญญาณหิวโหยได้อย่างไร (สิ่งนี้อาจช่วยให้คนปรารถนาที่จะมีค่าควรแก่การได้อยู่กับพระเจ้าและปรารถนาความสุขที่มาจากการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ)

ชี้ให้เห็นว่าอีนัสปรารถนาการปลดบาปของเขาเช่นกัน อธิบายว่าข้อความ “จิตวิญญาณข้าพเจ้าหิวโหย” อาจบอกถึงความรู้สึกว่าความว่างเปล่าทางวิญญาณเป็นผลมาจากบาป อาจบอกถึงความใฝ่ฝันของบุคคลที่จะเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นและเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์เช่นกัน

  • เหตุใดบาปจึงทำให้เรารู้สึกว่างเปล่าทางวิญญาณ (บาปทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงถอนพระองค์ไปจากเราและเรารู้สึกห่างไกลจากพระเจ้า)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงประสบการณ์ของอีนัสกับตนเอง ขอให้พวกเขาไตร่ตรองในใจว่าพวกเขาเคยมีความรู้สึกอย่างเดียวกันกับความหิวโหยทางวิญญาณที่อีนัสอธิบายหรือไม่

เพื่อช่วยให้ชั้นเรียนเห็นสิ่งที่อีนัสทำเพื่อสร้างความอิ่มเอมให้แก่ความหิวโหยทางวิญญาณ เชื้อเชิญให้นักเรียนในกลุ่มที่สองรายงานสิ่งที่พวกเขาพบและเขียนคำตอบของพวกเขาบนกระดาน คำตอบควรมีดังนี้ “ต่อสู้…ต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า” “ร้องทูลพระองค์ในคำสวดอ้อนวอนอย่างสุดกำลัง” และ “[ใช้] ศรัทธาในพระคริสต์”

  • ข้อความที่ว่า “การต่อสู้ … ต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า” อธิบายความพยายามของบุคคลเพื่อได้รับการปลดบาป (ชี้แจงว่าไม่ได้ต่อสู้ กับ พระผู้เป็นเจ้า แต่ต่อสู้ ต่อพระพักตร์ พระผู้เป็นเจ้าในคำสวดอ้อนวอน การต่อสู้นี้บอกถึงการดิ้นรนของอีนัสเพื่อแสดงให้พระบิดาบนสวรรค์เห็นถึงความจริงใจของความปรารถนาและความเต็มใจที่จะกลับใจโดยทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในชีวิตเขา) เหตุใดคำว่า การต่อสู้ จึงเป็นคำดีที่อธิบายถึงความพยายามในการกลับใจ

  • ใน อีนัส 1:4 ท่านเห็นหลักฐานใดที่อีนัสมีความจริงใจขณะที่เขาแสวงหาการปลดบาปของเขา (ท่านอาจต้องช่วยนักเรียนให้เข้าใจว่า วิงวอน หมายถึงทูลขออย่างนอบน้อมและมีความปรารถนาอย่างมาก)

  • ด้วยวิธีนี้เราสามารถแสดงความจริงใจของเราเมื่อเราแสวงหาการให้อภัยจากพระเจ้า (ท่านอาจต้องการอธิบายว่าการสวดอ้อนวอนของเราอาจไม่ต้องยาวเหมือนของอีนัส แต่ต้องจริงใจ)

เพื่อช่วยให้ชั้นเรียนเห็นผลจากสิ่งที่อีนัสทำ เชื้อเชิญให้นักเรียนในกลุ่มสามรายงานสิ่งที่พวกเขาพบและเขียนคำตอบบนกระดาน คำตอบควรเป็นดังนี้ “บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว” “ความผิดของข้าพเจ้าจึงถูกลบล้างไป” และ “ศรัทธาของเจ้าทำให้เจ้าสมบูรณ์แล้ว” (ท่านอาจต้องการอธิบายว่าการทำให้สมบูรณ์หมายถึงได้รับการเยียวยาหรือชำระให้บริสุทธิ์จากบาป)

  • จาก อีนัส 1:7–8 สิ่งใดที่ทำให้อีนัสสามารถได้รับการให้อภัยและได้รับการทำให้สมบูรณ์ (ศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์)

  • เราสามารถเรียนรู้บทเรียนอะไรจากอีนัสเกี่ยวกับขั้นตอนของการได้รับการให้อภัยบาปของเรา (นอกเหนือจากความจริงอื่นๆ ที่นักเรียนอาจพูดถึง ขอให้แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจว่า เมื่อเราใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ บาปของเราจะได้รับการอภัยและเราจะได้รับการทำให้สมบูรณ์ เหตุใดการใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์จึงจำเป็นที่เราจะได้รับพรเหล่านี้ (พระเยซูคริสต์ทรงชดใช้เพื่อบาปของเรา โดยผ่านทางการชดใช้ของพระองค์เท่านั้นที่เราจะได้รับการทำให้สมบูรณ์)

  • จาก อีนัส 1:5–6 อีนัสรู้ได้อย่างไรว่าเราได้รับการให้อภัย (ท่านอาจต้องชี้แจงว่าเสียงที่กล่าวไว้ใน อีนัส 1:5 คือเสียงที่มาจากจิตใจของอีนัส [ดู อีนัส 1:10])

  • ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านได้รับการให้อภัยบาปของท่าน

ดังที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาคำถามสุดท้ายข้างบน อ่านคำพูดต่อไปนี้จากประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุด

“เมื่อเรากลับใจอย่างแท้จริงแล้ว พระคริสต์จะทรงนำภาระอันเกิดจากความผิดบาปของเราไป เราจะรู้ด้วยตนเองว่าเราได้รับการให้อภัยและได้รับการชำระให้สะอาด พระวิญญาณบริสุทธิ์จะยืนยันสิ่งนี้แก่เรา พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงชำระให้บริสุทธิ์ ไม่มีประจักษ์พยานแห่งการให้อภัยใดจะยิ่งใหญ่เกินกว่านี้” (ดู “จุดกลับที่ปลอดภัย” เลียโฮนา พ.ค. 2007, 125–126)

  • เหตุใดจึงเป็นประโยชน์แก่เราที่จะรู้ว่าพระคริสต์จะทรงนำเอาภาระความผิดบาปของเราไปหลังจากเรากลับใจอย่างแท้จริง

ขอให้นักเรียนไตร่ตรองในใจถึงคำถามต่อไปนี้

  • เมื่อใดที่ท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงให้อภัยบาปของท่าน

  • ท่านใช้ศรัทธาในการชดใช้ของพระเยซูคริสต์อย่างไร

  • ท่านทราบได้อย่างไรว่าท่านได้รับการให้อภัย

  • ท่านรู้สึกถึงการให้อภัยจากพระเจ้าเมื่อไม่นานมานี้ไหม

เป็นพยานว่าเราจะได้รับการให้อภัยเมื่อเราใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์และกลับใจจากบาปของเราอย่างแท้จริง เนื่องจากพระผู้ช่วยให้รอด บาปของเราจึงถูกลบล้างไปและเราจะได้รับการทำให้สมบูรณ์

อีนัส 1:9–27

อีนัสสวดอ้อนวอนเพื่อความผาสุกทางวิญญาณของชาวนีไฟและชาวเลมัน เขาทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียรเพื่อความรอดของคนเหล่านั้น

วาดแผนภาพต่อไปนี้บนกระดาน อธิบายว่าหลังจากอีนัสสวดอ้อนวอนให้ตนเอง เขาเพิ่มการสวดอ้อนวอนโดยรวมถึงการวิงวอนเพื่อความผาสุกของผู้อื่น มอบหมายนักเรียนให้ทำงานเป็นคู่ เชื้อเชิญนักเรียนแต่ละคู่ให้ผลัดกันอ่านออกเสียงจาก อีนัส 1:9–14 ขอให้พวกเขาระบุถึงคนสองกลุ่มที่อีนัสสวดอ้อนวอนให้และเขาสวดอ้อนวอนเรื่องใดในแต่ละกรณี ขณะที่นักเรียนรายงานว่าพวกเขาเรียนรู้อะไร เขียนคำว่า ชาวนีไฟ กับ ชาวเลมัน แทนที่เครื่องหมายปรัศนีในแผนภาพ

แผนภาพการสวดอ้อนวอน
  • จาก อีนัส 1:14 เจตนารมณ์ที่ชาวเลมันมีต่อชาวนีไฟคืออะไร

  • เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับอีนัสจากคำสวดอ้อนวอนของเขาเพื่อชาวเลมัน

อ่านคำพูดต่อไปนี้จากประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์ ขอให้นักเรียนฟังว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของอีนัสอย่างไร

“ทุกครั้งที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับพรแห่งการชดใช้ในชีวิต เราอดไม่ได้ที่จะห่วงใยความผาสุกของพี่น้องเรา …

“ตัวบ่งชี้ที่สำคัญยิ่งในการเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนตัวของคนคนหนึ่งคือความปรารถนาที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น” (The Teachings of Howard W. Hunter, ed. Clyde J. Williams [1997], 248–49)

  • คำพูดนี้เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของอีนัสอย่างไร (อีนัสแสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้รับพรแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เราจะพยายามช่วยผู้อื่นให้ได้รับความรอด ท่านอาจต้องการกระตุ้นให้นักเรียนเขียนหลักธรรมนี้ในพระคัมภีร์ของพวกเขา)

ขอให้นักเรียนศึกษา อีนัส 1:12, 15–20 ในใจ มองหาสิ่งที่อีนัสแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสวดอ้อนวอน ศรัทธา กับความขยันหมั่นเพียร

  • ท่านคิดว่าการสวดอ้อนวอนด้วยศรัทธาหมายความว่าอย่างไร

  • จาก อีนัส 1:12, 19–20 อีนัสแสดงให้เห็นความขยันหมั่นเพียรในระหว่างการสวดอ้อนวอนและหลังการสวดอ้อนวอนของเขาอย่างไร

  • เราสามารถเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนจากแบบอย่างของอีนัส (นักเรียนพึงสามารถเห็นว่า พระเจ้าทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของเราตามศรัทธาและความขยันหมั่นเพียรของเรา)

เพื่อช่วยให้นักเรียนพิจารณาวิธีที่พวกเขาสามารถทำตามแบบอย่างของอีนัส เขียนคำพูดต่อไปนี้บนกระดานหรือทำเป็นเอกสารแจก เชื้อเชิญให้นักเรียนเลือกคำพูดหนึ่งและตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์

  1. เช่นเดียวกับอีนัส ฉันปรารถนาที่จะได้รับการปลดบาปของฉัน ฉันจะแสดงให้พระเจ้าเห็นว่าฉันมีความปรารถนาอย่างจริงใจโดย …

  2. เช่นเดียวกับอีนัส ฉันปรารถนาจะช่วยสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนของฉันให้มาหาพระคริสต์ คนที่ฉันจะพยายามช่วยคือ … ฉันจะพยายามช่วยคนนี้โดย …

  3. อีนัสสวดอ้อนวอนเพื่อชาวเลมัน ผู้ที่จัดว่าเป็นศัตรูของเขา เช่นเดียวกับอีนัส ฉันต้องการแสดงความรักของพระเจ้าแก่ผู้ที่ไม่มีเมตตาต่อฉัน วิธีหนึ่งที่ฉันจะทำสิ่งนี้คือ …

หลังจากนักเรียนเขียนเสร็จ ให้นักเรียนอ่าน อีนัส 1:26–27 เชื้อเชิญชั้นเรียนให้มองหาหลักฐานแห่งปีติที่อีนัสประสบเนื่องจากความพยายามของเขา หลังจากนักเรียนรายงานสิ่งที่พวกเขาพบ สนับสนุนให้พวกเขาทำสิ่งที่พวกเขาเขียนไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ เป็นพยานว่าเมื่อเราใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ เราจะประสบกับการให้อภัยและปีติ ความปรารถนาของเราที่จะช่วยให้ผู้อื่นมาหาพระคริสต์จะเพิ่มขึ้น

ข้อคิดเห็นและข้อมูลภูมิหลัง

อีนัส 1:2 “ข้าพเจ้าได้รับการปลดบาปของข้าพเจ้า”

อีนัสไม่ได้กล่าวถึงลักษณะหรือขอบเขตบาปของเขา แต่อธิบายถึงกระบวนการกลับใจที่เราแต่ละคนต้องลงมือทำเพื่อจะรับการให้อภัยจากสวรรค์ ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์สอนว่า

“เรื่องที่ข้าพเจ้าชอบมาโดยตลอดคือเรื่องราวของอีนัสผู้มีความต้องการอันยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับเราทุกคน—เพราะไม่มีใครดีพร้อม—เขาได้ออกนอกลู่นอกทาง บาปของท่านมืดมนเพียงใดข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่ท่านเขียนว่า ‘ข้าพเจ้าจะบอกท่านถึงการต่อสู้ซึ่งข้าพเจ้าผจญมาต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า , ก่อนที่ข้าพเจ้าจะได้รับการปลดบาปของข้าพเจ้า’ [อีนัส 1:2] …

“ช่างเป็นพรและปีติของเราแต่ละคนที่ทราบว่าพระบิดาของเราทรงพระชนม์และพระองค์ทรงรักเรา พระองค์ทรงให้อภัยเราเมื่อพร้อมจะกลับใจ พระองค์เต็มพระทัยตลอดมาที่จะช่วยและประทานความรักแก่บุตรธิดาผู้เป็นที่รักของพระองค์” (“Pray Always,Ensign, Oct. 1981, 6)