คลังค้นคว้า
บทที่ 5: ภาพรวมของพระคัมภีร์มอรมอน


บทที่ 5

ภาพรวมของพระคัมภีร์มอรมอน

คำนำ

บทนี้ให้ภาพรวมของพระคัมภีร์มอรมอน นักเรียนจะศึกษาประจักษ์พยานของโจเซฟ สมิธเกี่ยวกับการมาปรากฏของพระคัมภีร์มอรมอน พวกเขาจะเรียนรู้เช่นกันว่ามีการรวบรวมและย่อพระคัมภีร์ดังกล่าวภายใต้การกำกับดูแลจากสวรรค์อย่างไร ผู้เขียนพระคัมภีร์มอรมอนเห็นยุคสุดท้าย และพวกเขารวมเรื่องราวและคำสอนต่างๆ ที่พวกเขารู้ว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเราไว้ในนั้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

ประจักษ์พยานของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ

ก่อนชั้นเรียน ให้นำพระคัมภีร์มอรมอนเล่มหนึ่งใส่กล่องแล้วห่อให้เหมือนของขวัญ วางของขวัญไว้บนโต๊ะหน้าชั้นเรียน และบอกนักเรียนว่านี่เป็นของขวัญล้ำค่า

  • ของขวัญล้ำค่าที่สุดอะไรบ้างที่ท่านเคยได้รับ

  • อะไรทำให้ของขวัญมีค่า

  • ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อให้ของขวัญที่ท่านคิดว่ามีค่าและผู้รับรับไว้ด้วยความยินดี

เชิญนักเรียนคนหนึ่งแกะของขวัญและให้นักเรียนคนอื่นๆ ดูว่ามีอะไรอยู่ในนั้น

  • ใครให้ของขวัญชิ้นนี้แก่เรา

  • เหตุใดท่านจึงรู้สึกว่าของขวัญชิ้นนี้มีค่า

ให้ดูภาพโมโรไนปรากฏต่อโจเซฟ สมิธในห้องของท่าน (62492; หนังสือภาพพระกิตติคุณ [2009], ภาพ 91)

ภาพ
The Angel Moroni Appears to Joseph Smith
  • ภาพนี้บรรยายภาพเหตุการณ์ใด

  • เหตุการณ์นี้เอื้อประโยชน์ต่อการฟื้นฟูพระกิตติคุณอย่างไร

อธิบายให้นักเรียนฟังว่าตอนนี้พวกเขาจะอ่านคำพูดของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเกี่ยวกับการมาปรากฏของพระคัมภีร์มอรมอน บอกพวกเขาว่าประจักษ์พยานของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธที่ปรากฏตอนต้นพระคัมภีร์มอรมอนนำมาจากโจเซฟ สมิธ—ประวัติในพระคัมภีร์ไข่มุกอันล้ำค่า ขณะนักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้ ให้พวกเขาอ่านจากพระคัมภีร์ไข่มุกอันล้ำค่า

มอบหมายให้นักเรียนทำงานเป็นคู่ เชิญนักเรียนคนหนึ่งในแต่ละคู่อ่าน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:30, 32–35, 42 ในใจ ขอให้นักเรียนอีกคนหนึ่งในแต่ละคู่อ่าน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:51–54, 59–60 ในใจ อธิบายว่าเมื่ออ่านจบแล้ว ให้สอนกันในคู่เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาอ่าน

หลังจากนักเรียนมีเวลาอ่านและสนทนามากพอแล้ว ให้ถามว่า

  • ท่านคิดว่าการรอนานสี่ปีก่อนโจเซฟ สมิธจะนำแผ่นจารึกทองคำกลับบ้านได้ช่วยเขาอย่างไร (ระหว่างนั้นโจเซฟได้รับการสอนจากโมโรไน และท่านเติบโตในหลายๆ ด้าน ดู โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:54)

  • ในเรื่องราวของโจเซฟ สมิธ ท่านเห็นหลักฐานอะไรยืนยันว่า พระเจ้าทรงเก็บรักษาพระคัมภีร์มอรมอนให้ออกมาในยุคสุดท้าย

  • ในเรื่องราวของโจเซฟ สมิธ ท่านเห็นหลักฐานอะไรยืนยันว่า พระคัมภีร์มอรมอนมาปรากฏโดยเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

คำอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอน

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่ามีการรวบรวมพระคัมภีร์มอรมอนอย่างไร ให้พวกเขาเปิด “คำอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอน” ในหน้าคำนำของพระคัมภีร์มอรมอน เชิญนักเรียนสี่คนผลัดกันอ่านออกเสียงข้อ 1–4 ขณะอ่านให้นักเรียนที่เหลือคอยฟังด้านต่างๆ ที่แผ่นจารึกแต่ละชุดสำคัญต่อพระคัมภีร์ ภาคผนวกของคู่มือเล่มนี้มีคำอธิบายประกอบเรื่อง “แผ่นจารึกและความสัมพันธ์ของแผ่นจารึกกับพระคัมภีร์มอรมอนที่พิมพ์ออกมา” คำอธิบายประกอบดังกล่าวอาจจะช่วยให้นักเรียนเห็นภาพแผ่นจารึกดังบรรยายไว้ใน “คำอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอน” (ถ้าท่านรู้สึกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการสนทนาส่วนนี้ จงชี้ให้เห็นย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายโดยสังเขป เริ่มจากวลี “เกี่ยวกับการจัดพิมพ์ฉบับนี้” อธิบายว่าพระคัมภีร์มอรมอนแต่ละฉบับมีการแก้ไขเล็กน้อยเรื่องตัวสะกดและข้อผิดพลาดในการเรียงพิมพ์)

ภาพ
Mormon Abridging the Plates

ให้ดูรูปมอรมอนย่อแผ่นจารึก (62520; หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพ 73) อธิบายว่าหลายคนเก็บรักษาบันทึกที่สุดท้ายกลายเป็นพระคัมภีร์มอรมอน เขียนพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้บนกระดาน ขอให้นักเรียนศึกษาในใจโดยมองหาหลักธรรมบางประการที่ช่วยผู้เขียนพระคัมภีร์มอรมอนตัดสินใจว่าจะรวมอะไรไว้ในบันทึกของพวกเขา เชิญนักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาพบ (ท่านอาจต้องการเขียนคำตอบของพวกเขาบนกระดาน)

  • การเข้าใจหลักธรรมชี้นำเหล่านี้จะช่วยท่านได้อย่างไรขณะที่ท่านศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน

แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านว่า ผู้เขียนพระคัมภีร์มอรมอนเห็นวันเวลาของเราและเขียนสิ่งซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเรา เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มอรมอน 8:35–38

  • โมโรไนเห็นปัญหาอะไรบ้างในบรรดาผู้คนสมัยเรา

  • เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องรู้ว่าโมโรไนและผู้เขียนพระคัมภีร์มอรมอนคนอื่นๆ รู้ปัญหาที่เราจะเผชิญ

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันเกี่ยวกับวิธีศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

“หากพวกท่านเห็นวันเวลาของเราและเลือกสิ่งซึ่งจะมีค่าต่อเรามากที่สุด เราจะไม่ศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนหรอกหรือ เราควรถามตัวเราเองบ่อยๆ ว่า ‘เหตุใดพระเจ้าทรงดลใจมอรมอน (หรือโมโรไนหรือแอลมา) ให้รวมสิ่งนั้นไว้ในบันทึกของท่าน ฉันได้รับบทเรียนอะไรบ้างจากสิ่งนั้นที่จะช่วยฉันดำเนินชีวิตในยุคสมัยนี้’” (“The Book of Mormon—Keystone of Our Religion,” Ensign, Nov. 1986, 6)

บอกนักเรียนว่าผู้คนที่พระคัมภีร์มอรมอนเขียนถึงเผชิญปัญหามากมายเหมือนเรา แม้พระคัมภีร์มอรมอนจะเป็นเอกสารโบราณ แต่หลักคำสอน ประวัติศาสตร์ และเรื่องราวในนั้นมีค่ามากในปัจจุบัน

ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน (ท่านอาจต้องการแจกสำเนาคำกล่าวให้นักเรียนแต่ละคน) ให้ชั้นเรียนคอยฟังพรที่ประธานเบ็นสันสัญญากับคนที่เริ่มศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนอย่างจริงจัง

“ไม่ใช่เพียงเพราะพระคัมภีร์มอรมอนสอนความจริงแก่เรา แม้แท้จริงแล้วจะเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่เพียงเพราะพระคัมภีร์มอรมอนเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสต์ แม้แท้จริงแล้วจะเป็นดังนั้นเช่นกัน แต่มีบางสิ่งบางอย่างมากกว่านั้น มีพลังในหนังสือเล่มนี้ซึ่งจะเริ่มหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตท่านทันทีที่ท่านเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง ท่านจะพบพลังมากขึ้นในการต่อต้านการล่อลวง ท่านจะพบพลังในการหลีกเลี่ยงการหลอกลวง ท่านจะพบพลังในการอยู่บนทางคับแคบและแคบ พระคัมภีร์ได้ชื่อว่าเป็น “ถ้อยคำแห่งชีวิต” (ดู คพ. 84:85) และนั่นเป็นความจริงมากที่สุดเมื่อใช้กับพระคัมภีร์มอรมอน เมื่อท่านเริ่มหิวกระหายถ้อยคำเหล่านั้น ท่านจะพบว่าชีวิตอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ” (“พระคัมภีร์มอรมอน—ศิลาหลักแห่งศาสนาของเรา” หน้า 7)

  • ท่านประสบพรจากการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนเมื่อใด

แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านว่า พระคัมภีร์มอรมอนให้พลังต่อต้านการล่อลวง หลีกเลี่ยงการหลอกลวง และอยู่บนทางคับแคบและแคบมากขึ้น เล่าให้นักเรียนฟังเมื่อครั้งท่านได้รับพรเหล่านี้เนื่องด้วยการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน

ก่อนชั้นเรียน ให้เขียนคำถามและข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้บนกระดาน

อธิบายว่านอกจากพรที่กล่าวไว้แล้ว พระคัมภีร์มอรมอนมีคำตอบให้กับคำถามที่มีความหมายมากที่สุดของชีวิต ด้วย เชิญนักเรียนแต่ละคนเลือกคำถามหนึ่งหรือสองข้อและค้นหาคำตอบจากข้อพระคัมภีร์ที่ให้มา ให้เวลาพวกเขาหาคำตอบสักสามสี่นาที ท่านอาจต้องการเดินไปรอบๆ ห้องและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

  • พระคัมภีร์มอรมอนตอบคำถามที่ท่านเลือกอย่างไร

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง เมื่อท่านกล่าวข้อความนี้ ท่านกำลังพูดกับครูเซมินารีและสถาบันเกี่ยวกับพลังของพระคัมภีร์เพื่อตอบคำถามที่มีความหมายมากที่สุดของชีวิต

“หากนักเรียนของท่านคุ้นเคยกับการเปิดเผย ย่อมไม่มีคำถาม—ส่วนตัวหรือด้านสังคม หรือการเมือง หรืออาชีพ—ใดที่ไม่มีคำตอบ ในนั้นกอปรด้วยความสมบูรณ์ของพระกิตติคุณอันเป็นนิจ ในนั้นเราพบหลักธรรมแห่งความจริงซึ่งจะแก้ไขความสับสนทั้งหมด ปัญหาทั้งหมด และสภาพอับจนทั้งหมดอันจะเกิดแก่ครอบครัวมนุษย์หรือบุคคลใดในครอบครัว” (“Teach the Scriptures” [address to CES religious educators, Oct. 14, 1977], 3–4, si.lds.org)

แบ่งปันว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร เตือนนักเรียนเรื่องเป้าหมายการอ่านพระคัมภีร์มอรมอนทุกวันและอ่านพระคัมภีร์มอรมอนทั้งเล่มอย่างน้อยหนึ่งจบปีนี้

ข้อคิดเห็นและข้อมูลภูมิหลัง

คำอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอน “เกี่ยวกับการจัดพิมพ์ฉบับนี้”

พระคัมภีร์มอรมอนมีต้นฉบับสองชุด คือ ต้นฉบับเดิมและต้นฉบับของผู้พิมพ์ส่วนน้อยของการเรียงพิมพ์ พระคัมภีร์มอรมอนฉบับปี 1830 ใช้ต้นฉบับเดิมเป็นหลักและส่วนที่เหลือใช้ต้นฉบับของผู้พิมพ์เป็นหลักซึ่งคือสำเนาของต้นฉบับเดิม เมื่อโจเซฟ สมิธเตรียมพระคัมภีร์มอรมอนฉบับปี 1840 ท่านใช้ต้นฉบับเดิมแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดโดยไม่ตั้งใจและส่วนที่ลบออกในฉบับปี 1830 ส่วนฉบับปี 1981 มีการค้นหาข้อมูลจากต้นฉบับเดิมอีกครั้งเพื่อกลับไปใช้คำเดิมประมาณ 20 แห่ง ข้อผิดพลาดใดก็ตามในพระคัมภีร์มอรมอนถือเป็นข้อผิดพลาดของมนุษย์และมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเพื่อให้พระคัมภีร์มอรมอนกลับมามีความหมายและจุดประสงค์เหมือนเดิม (ดู Book of Mormon Reference Companion, ed. Dennis Largey [2003], 124–25)

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธเขียนดังนี้

“จักต้องมีความผิดพลาดด้านการพิมพ์อยู่บ้างใน [พระคัมภีร์มอรมอน] ฉบับแรก และอาจตกหล่นคำหรือสองคำ คนที่จัดพิมพ์หนังสือด้วยความรอบคอบที่สุดภายใต้สภาวการณ์ที่เอื้ออำนวยก็ยังท้อใจเมื่อพบความผิดพลาดด้านการพิมพ์และด้านกลไก บางอย่างเกิดขึ้นหลังจากได้ทำการตรวจพิสูจน์อักษรขั้นสุดท้ายแล้ว

“… เมื่อตรวจรายการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดแล้ว … พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการเพิ่มเติมใดที่ไม่สอดคล้องโดยครบถ้วนกับเนื้อความเดิม มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายวรรคตอนและเรื่องเล็กน้อยอื่นๆ บ้างที่ต้องแก้ไข แต่ไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือการเพิ่มเติมใดเปลี่ยนความคิดดั้งเดิมแม้แต่เรื่องเดียว ตามที่ปรากฎต่อเรา การเปลี่ยนแปลง … ทำให้เนื้อความชัดเจนขึ้นและบ่งบอกว่ามีตกหล่น ข้าพเจ้ามั่นใจว่าข้อผิดพลาดหรือคำตกหล่นในฉบับแรกส่วนใหญ่เป็นความบกพร่องของช่างเรียงพิมพ์หรือผู้พิมพ์ ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเป็นผู้ตรวจพบข้อผิดพลาดมากมายในการพิสูจน์อักษรครั้งแรกและท่านได้ทำการแก้ไขแล้ว” (Answers to Gospel Questions, comp. Joseph Fielding Smith Jr., 5 vols. [1957–66], 2:199–200; ตัวเอนในต้นฉบับเดิม)

พิมพ์