คลังค้นคว้า
บทที่ 155: โมโรไน 7:1–19


บทที่ 155

โมโรไน 7:1–19

คำนำ

โมโรไนบันทึกโอวาทที่มอรมอนบิดาของเขาให้ไว้เมื่อหลายปีก่อน บทนี้ครอบคลุมโอวาทส่วนแรกซึ่งมอรมอนสอนเกี่ยวกับการทำงานชอบธรรมด้วยเจตนาแท้จริงและวิธีที่เราจะสามารถแยกแยะระหว่างความดีกับความชั่ว บทที่ 156 ครอบคลุมโอวาทที่เหลือ

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

โมโรไน 7:1–11

มอรมอนสอนผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ให้ทำงานดีด้วยเจตนาแท้จริง

ให้ดูรูปผลไม้ที่ผิวนอกดูดี

  • ท่านเคยพบว่าเนื้อในผลไม้ไม่ดีเหมือนที่เห็นภายนอกหรือไม่ (เชิญนักเรียนสองสามคนยกตัวอย่าง ท่านอาจต้องการเล่าประสบการณ์ของท่านเอง)

  • คนเราอาจจะเหมือนผลไม้ที่ผิวนอกดูดีแต่เนื้อในเน่าในด้านใดบ้าง

อธิบายว่าโมโรไนบันทึกถ้อยคำของมอรมอนบิดาของเขาเกี่ยวกับความสำคัญของการเป็นคนชอบธรรมในใจเราและการทำงานชอบธรรม เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมโรไน 7:2–3 ขอให้ชั้นเรียนบอกว่ามอรมอนกำลังพูดกับคนกลุ่มใด (เขากำลังพูดกับสมาชิกของศาสนจักร)

หลังจากนักเรียนรายงานสิ่งที่เรียนรู้แล้ว ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมโรไน 7:4–5 เชื้อเชิญชั้นเรียนให้ดูตามและพิจารณาว่ามอรมอนรู้ได้อย่างไรว่าคนเหล่านี้เป็น “ผู้ติดตามที่มีใจสงบสุขของพระคริสต์” (โมโรไน 7:3)

เขียนวลี เจตนาอันแท้จริง ไว้บนกระดาน

  • ท่านคิดว่าวลีนี้หมายความว่าอย่างไร

ขณะที่นักเรียนสนทนาคำถามนี้ ท่านอาจต้องการขอให้คนหนึ่งอ่านคำอธิบายต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์

“เราต้องไม่เพียง ทำ สิ่งถูกต้องเท่านั้น เราต้องกระทำด้วยเหตุผลที่ถูกต้องด้วย คำสมัยใหม่คือ เจตนาดี พระคัมภีร์มักกล่าวถึงเจตคติที่เหมาะสมนี้ด้วยคำว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว หรือ เจตนาอันแท้จริง

“พระคัมภีร์ให้ความกระจ่างว่าพระผู้เป็นเจ้าเข้าพระทัยเจตนาของเราและจะตัดสินการกระทำของเราตามนั้น” (Pure in Heart [1988], 15)

เชื้อเชิญให้นักเรียนค้นคว้า โมโรไน 7:6–10 ในใจ โดยมองหาพระดำรัสของพระเจ้าต่อผู้ทำงานดีด้วยเจตนาอันแท้จริง

  • พระเจ้าประทานพระดำรัสเตือนอะไรแก่คนที่ทำงานดีโดยปราศจากเจตนาอันแท้จริง (พระองค์ทรงเตือนว่างานของพวกเขาจะไม่เป็นประโยชน์กับพวกเขาและจะนับว่างานของพวกเขาเป็นความชั่วไม่ใช่ความชอบธรรม)

  • เราเรียนรู้หลักธรรมอะไรได้บ้างจากข้อเหล่านี้ (แม้นักเรียนจะกล่าวถึงความจริงจำนวนหนึ่ง แต่จงช่วยพวกเขาระบุหลักธรรมต่อไปนี้: เพื่อให้ได้รับพรเพราะงานดีของเรา เราต้องกระทำด้วยเจตนาอันแท้จริง)

  • นอกจากปรารถนาพรจากพระเจ้าแล้ว ท่านคิดว่าเหตุใดการทำงานดีด้วยเจตนาอันแท้จริงจึงเป็นเรื่องสำคัญ

  • ท่านสังเกตเห็นความแตกต่างอะไรเมื่อท่านได้ทำงานดีด้วยเจตนาอันแท้จริง

ชี้ให้เห็นว่ามอรมอนกระตุ้นเราให้สวดอ้อนวอนด้วยเจตนาอันแท้จริง (ดู โมโรไน 7:9) เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำแนะนำต่อไปนี้จากประธานบริคัม ยังก์

ประธานบริคัม ยังก์

“ไม่สำคัญว่าท่านหรือข้าพเจ้าต้องการสวดอ้อนวอนหรือไม่ เมื่อถึงเวลาสวดอ้อนวอน จงสวดอ้อนวอน หากเราไม่รู้สึกเช่นนั้น เราควรสวดอ้อนวอนจนกว่าเราจะรู้สึกอยากสวดอ้อนวอน” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: บริคัม ยัง [1997], 51)

  • การเลือกสวดอ้อนวอนแม้เมื่อเราไม่รู้สึกอยากสวดอ้อนวอนจะช่วยให้เราสวดอ้อนวอนด้วยเจตนาอันแท้จริงในท้ายที่สุดได้อย่างไร

  • คำแนะนำของประธานบริคัม ยังก์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการการเชื่อฟังพระบัญญัติข้ออื่นนอกเหนือจากการสวดอ้อนวอน (ถ้านักเรียนตอบคำถามนี้ได้ยาก ท่านอาจยกตัวอย่างดังนี้ บางคนอาจไม่ได้มาโบสถ์ด้วยเจตนาอันแท้จริง แต่ถ้าพวกเขายังมาอยู่เรื่อยๆ และทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อมีส่วนร่วมและนมัสการ พวกเขาจะมีประสบการณ์อันจะช่วยให้พวกเขาพบปีติในการมาโบสถ์ เหตุผลในการมาโบสถ์ของพวกเขาจะเปลี่ยนไป พวกเขาจะมาโบสถ์เพราะพวกเขาต้องการอยู่ที่นั่น—พวกเขาต้องการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ต่อพันธสัญญาของพวกเขา และรับใช้ผู้อื่น)

เพื่อช่วยนักเรียนประยุกต์ใช้คำสอนของมอรมอนเกี่ยวกับการทำงานดีด้วยเจตนาอันแท้จริง จงเตรียมกิจกรรมต่อไปนี้ก่อนชั้นเรียน เตรียมกระดาษแผ่นเล็กหลายๆ แผ่น เขียนพระบัญญัติลงในกระดาษแผ่นละข้อ ตัวอย่างอาจได้แก่ อดอาหาร จ่ายส่วนสิบ รับใช้ผู้อื่น ศึกษาพระคัมภีร์ ให้เกียรติบิดามารดา และพระบัญญัติข้ออื่นที่ท่านรู้สึกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นำกระดาษใส่ไว้ในภาชนะใบหนึ่ง

ในชั้นเรียน เชิญนักเรียนคนหนึ่งมาหน้าชั้น ขอให้นักเรียนหยิบกระดาษชิ้นหนึ่งจากภาชนะและอ่านให้ชั้นเรียนฟัง จากนั้นขอให้ชั้นเรียนทำหนึ่งอย่างหรือทั้งสองอย่างดังต่อไปนี้

  1. บอกว่าพวกเขารู้สึกได้รับพรอย่างไรเมื่อได้เชื่อฟังพระบัญญัติข้อนั้นด้วยเจตนาอันแท้จริง

  2. เสนอแนะวิธีเชื่อฟังพระบัญญัติข้อนั้นด้วยเจตนาอันแท้จริง

ท่านอาจต้องการทำกิจกรรมนี้ซ้ำสองสามครั้ง

หลังจากกิจกรรมนี้ ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยมีเมื่อท่านเชื่อฟังพระบัญญัติข้อหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าด้วยเจตนาอันแท้จริง

โมโรไน 7:12–19

มอรมอนสอนวิธีตัดสินระหว่างความดีกับความชั่ว

อธิบายว่าอิสยาห์พยากรณ์ว่าในวันเวลาสุดท้าย บางคนจะเรียกความชั่วว่าความดีและเรียกความดีว่าความชั่ว (ดู อิสยาห์ 5:20; 2 นีไฟ 15:20)

  • มีตัวอย่างอะไรบ้างของคนที่เรียกความชั่วว่าความดีและเรียกความดีว่าความชั่ว

  • ท่านคิดว่าเหตุใดการไม่สับสนระหว่างความดีกับความชั่วจึงเป็นเรื่องสำคัญ

เชิญนักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก โมโรไน 7:12–17 ขอให้ชั้นเรียนดูตามและระบุหลักธรรมที่สามารถช่วยเราตัดสินความดีจากความชั่ว ท่านอาจต้องการกระตุ้นพวกเขาให้ทำเครื่องหมายวลีที่มีความหมายต่อพวกเขาเป็นพิเศษ เพื่อช่วยนักเรียนรายงานสิ่งที่พบ ให้ถามดังนี้

  • เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้า (นักเรียนพึงระบุความจริงต่อไปนี้: สิ่งซึ่งมาจากพระผู้เป็นเจ้าเชื้อเชิญเราให้ทำดี เชื่อในพระเยซูคริสต์ รักและรับใช้พระผู้เป็นเจ้า)

  • เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นมาจากมาร (นักเรียนพึงระบุความจริงต่อไปนี้: สิ่งใดที่ชักชวนเราให้ทำความชั่ว ปฏิเสธพระเยซูคริสต์ หรือต่อสู้กับพระผู้เป็นเจ้า สิ่งนั้นมาจากมาร)

  • วิธีใดบ้างที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเชื้อเชิญและชักจูงเราให้ทำดีอยู่ตลอดเวลา

  • มารเชื้อเชิญและชักจูงเราให้ทำบาปอย่างไร

เพื่อเตรียมนักเรียนประยุกต์ใช้คำสอนของมอรมอนเกี่ยวกับการตัดสินระหว่างความดีกับความชั่ว จงเชื้อเชิญพวกเขาให้เขียนชื่อรายการโปรดทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เพลง กลุ่มนักร้อง ไซต์อินเทอร์เน็ต โปรแกรมซอฟต์แวร์ วิดีโอเกม หรือสมบัติส่วนตัว (ท่านอาจต้องการปรับรายการนี้ตามความต้องการและความสนใจของนักเรียน) หลังจากนักเรียนมีเวลาเขียนมากพอแล้ว ขอให้พวกเขาวางรายการนั้นไว้ก่อน บอกพวกเขาว่าพวกเขาจะมีโอกาสตรึกตรองรายการนี้มากขึ้นในอีกไม่กี่นาที

  • ตามที่กล่าวไว้ โมโรไน 7:16 ทุกคนได้รับอะไรเพื่อช่วยให้เรารู้จักความดีจากความชั่ว

อธิบายว่าพระวิญญาณของพระคริสต์เรียกอีกอย่างว่าแสงสว่างของพระคริสต์ (ดู โมโรไน 7:18) เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจแสงสว่างของพระคริสต์ ให้อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

“พระวิญญาณบริสุทธิ์และความสว่างของพระคริสต์แตกต่างจากกัน …

“ไม่ว่าจะเรียกความสว่างในจิตใจหรือความรู้จักถูกรู้จักผิดว่าความสว่างของพระคริสต์ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือมโนธรรม ทั้งหมดนี้ล้วนนำเราให้ควบคุมการกระทำของตน—เว้นแต่เราจะข่มไว้หรือไม่ใส่ใจ …

“ชาย หญิง และเด็กทุกคนในทุกชาติ ศาสนา หรือสีผิว—ไม่ว่าจะอยู่ไหนหรือเชื่ออะไรหรือทำอะไร ทุกคน—มีความสว่างอันไม่ดับสูญของพระคริสต์อยู่ในตัวเขา” (“ความสว่างของพระคริสต์,” เลียโฮนา, เม.ย.. 2005, 8–10)

  • คนๆ หนึ่งจะข่มไว้หรือไม่ใส่ใจแสงสว่างของพระคริสต์ภายในตัวเขาได้อย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนให้อ่าน โมโรไน 7:18–19 ในใจและระบุคำแนะนำของมอรมอนเกี่ยวกับวิธีตอบสนองแสงสว่างของพระคริสต์ภายในเรา ขอให้นักเรียนรายงานสิ่งที่เรียนรู้

  • ท่านคิดว่า “ค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียรโดยผ่านแสงสว่างของพระคริสต์” หมายความว่าอย่างไร

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรบ้างจาก โมโรไน 7:19 (นักเรียนควรระบุหลักธรรมต่อไปนี้: ขณะที่เราค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียรโดยผ่านแสงสว่างของพระคริสต์ เราจะสามารถแยกแยะระหว่างความดีกับความชั่ว ถ้าเรายึดมั่นสิ่งดีไว้ทุกอย่าง เราจะเป็นลูกของพระคริสต์ ถ้านักเรียนต้องการให้ช่วยพวกเขาเข้าใจวลี “ลูกของพระคริสต์” ท่านอาจต้องการอ้างถึงบทที่ 55 ในคู่มือเล่มนี้)

  • ท่านหมายจะรู้เมื่อใดว่าสิ่งนั้นดีหรือเหมาะสมหรือไม่ ท่านทำอะไรเพื่อ “ค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียร” ให้รู้ว่าสิ่งนั้นดีหรือเหมาะสมหรือไม่

ขอให้นักเรียนพูดถึงรายการที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ ให้ดูหรืออ่านออกเสียงคำถามต่อไปนี้ และเชื้อเชิญนักเรียนให้ “ค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียรโดยผ่านแสงสว่างของพระคริสต์” (โมโรไน 7:19) ขณะพวกเขาบันทึกคำตอบของคำถามเหล่านี้ อย่าเร่งกิจกรรมนี้ ให้เวลานักเรียนไตร่ตรองและเขียนมากพอ บอกนักเรียนว่าท่านจะไม่ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เขียน

  • สิ่งเหล่านี้เชื้อเชิญท่านให้ทำดี เชื่อในพระเยซูคริสต์ รักพระผู้เป็นเจ้าและรับใช้พระองค์ดีเพียงใด

  • สิ่งเหล่านี้พยายามชักชวนท่านให้ทำชั่ว สงสัยในพระเยซูคริสต์ หรือเลิกรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือไม่

  • ท่านรู้สึกหรือไม่ว่าท่านควรขจัดสิ่งเหล่านี้ออกจากชีวิตท่าน ถ้ารู้สึก ท่านจะทำอย่างไร

ชี้ให้เห็นว่าบางครั้งอาจจะทำสิ่งที่เรารู้ว่าถูกต้องได้ยากเมื่อสิ่งนั้นเรียกร้องให้เรายอมทิ้งบางอย่างที่เราชื่นชอบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสนับสนุนกันในความพยายามครั้งนี้ ถามนักเรียนว่า

  • ท่านจะให้คำแนะนำอะไรเพื่อช่วยให้คนบางคนยอมทิ้งสิ่งไม่ดีหรือไม่เหมาะสม

สรุปโดยยืนยันว่าเมื่อเราเดินตามแสงสว่างของพระคริสต์ เราจะรู้ได้ว่าสิ่งไหนดี หลีกเลี่ยงการหลอกลวงของซาตาน และดำเนินชีวิตในฐานะผู้ติดตามพระเยซูคริสต์

ข้อคิดเห็นและข้อมูลภูมิหลัง

โมโรไน 7:17 มารไม่ชักชวนใครให้ทำดี

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

“ซาตาน หรือลูซิเฟอร์ หรือบิดาแห่งความเท็จ—ไม่ว่าท่านจะเรียกชื่อเขาอย่างไร—มีอยู่จริง เป็นการมีตัวตนของความชั่วร้าย เจตนาของเขาคือความมุ่งร้าย … เขาต่อต้านความรักของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ และงานแห่งสันติสุขและความรอด เขาจะต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ทุกเมื่อและทุกที่ซึ่งเขาทำได้ เขารู้ว่าเขาจะพ่ายแพ้และถูกขับไล่ในที่สุด แต่เขาตั้งใจจะพาผู้คนไปกับเขาให้มากที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้” (“เราผองต้องถูกเกณฑ์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 56)