บทที่ 59
โมไซยาห์ 12:18–14:12
คำนำ
เมื่อกษัตริย์โนอาห์กับปุโรหิตของเขาซักถามอบินาได ศาสดาพยากรณ์ตำหนิพวกเขาที่ไม่สอนหรือรักษาพระบัญญัติ กษัตริย์โนอาห์สั่งให้พวกปุโรหิตฆ่าอบินาได แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงคุ้มครองอบินาไดและประทานพลังให้ท่านบอกข่าวสารต่อไป อบินาไดอ้างอิสยาห์โดยเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
โมไซยาห์ 12:18–13:26
อบินาไดตำหนิกษัตริย์โนอาห์และพวกปุโรหิตของเขาเพราะไม่ยอมรักษาและสอนพระบัญญัติ
เพื่อเริ่มบทเรียนนี้ ให้เขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน
ขอให้นักเรียนพิจารณาในใจว่าข้อความนี้พูดถึงพวกเขาได้ถูกต้องเพียงใดโดยใช้ระดับคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 10 (10 หมายความว่าข้อควานนั้นพูดถึงพวกเขาได้ถูกต้องมาก)
-
ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่ต้องทำตามคำกล่าวทั้งสองนี้ได้อย่างจริงใจ
อธิบายว่าเมื่อนักเรียนสนทนาถ้อยคำของอบินาได พวกเขาจะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของการรู้และดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เตือนพวกเขาว่าในบทก่อน พวกเขาสนทนาเรื่องราวของกษัตริย์โนอาห์และพวกปุโรหิตที่จับกุมอบินาไดไปคุมขังไว้ในเรือนจำเพราะคำพยากรณ์ต่อต้านพวกเขา (ดู โมไซยาห์ 12:1–17) สรุป โมไซยาห์ 12:18–24 โดยอธิบายว่าต่อมาอบินาไดถูกนำไปอยู่ต่อหน้ากษัตริย์โนอาห์และพวกปุโรหิต พวกปุโรหิตซักถามท่านโดยพยายามทำให้ท่านสับสนจนพูดบางอย่างที่พวกเขาจะใช้กล่าวหาท่าน จากนั้นปุโรหิตคนหนึ่งขอให้ท่านอธิบายพระคัมภีร์หนึ่งข้อ
เชื้อเชิญนักเรียนให้อ่าน โมไซยาห์ 12:25–30 ในใจ โดยมองหาเหตุผลที่อบินาไดตำหนิโนอาห์กับพวกปุโรหิตของเขา หลังจากนักเรียนรายงานสิ่งที่พบแล้ว ให้ถามว่า
-
อบินาไดกล่าวว่าโนอาห์กับพวกปุโรหิตของเขาบิดเบือนทางของพระเจ้า (ดู โมไซยาห์ 12:26) อีกนัยหนึ่งคือ พวกเขาทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสื่อมและละทิ้งวิถีชีวิตที่ถูกต้อง โนอาห์กับพวกปุโรหิตทำผิดฐานบิดเบือนทางของพระเจ้าในด้านใด
เพื่อช่วยนักเรียนตอบคำถามนี้ ท่านอาจต้องการชี้ให้เห็นว่าพวกปุโรหิตอ้างว่าความรอดมาโดยกฎของโมเสส (ดู โมไซยาห์ 12:32) แม้กระนั้นพวกเขาก็ไม่รักษาพระบัญญัติสิบประการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎดังกล่าว และพวกเขาไม่สอนผู้คนให้รักษาพระบัญญัติ (ดู โมไซยาห์ 11:1–15; 12:27–29, 37; 13:25–26)
ชี้ให้ดูข้อความบนกระดาน
-
ในระดับคะแนน 1 ถึง 10 ท่านคิดว่าแต่ละข้อความพูดถึงโนอาห์กับพวกปุโรหิตของเขาได้ถูกต้องเพียงใด
เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมไซยาห์ 12:31–33 ขอให้ชั้นเรียนระบุหลักธรรมที่อบินาไดสอนโนอาห์กับพวกปุโรหิตของเขา (ท่านสอนว่า ถ้าเรารักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า เราจะได้รับการช่วยให้รอด)
แบ่งปันตัวอย่างต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์เอฟ. เมลวิน แฮมมอนด์แห่งสาวกเจ็ดสิบ กระตุ้นนักเรียนให้ฟังความสำคัญของทั้งการรู้จักและรักษาพระบัญญัติ
“หลายปีก่อนอดีตผู้สอนศาสนาคนหนึ่งยืนอย่างองอาจในการประชุมศีลระลึกและประกาศเสียงดังว่าเขารู้จากการศึกษาพระคัมภีร์ว่าพระกิตติคุณเป็นความจริงและเขาจะสละชีวิตเพื่อพระเจ้าและศาสนจักรของพระองค์ สองสัปดาห์ต่อมาเขายืนต่อหน้าอธิการในวอร์ดนักศึกษาของเขาด้วยความอัปยศอดสูและหวาดกลัวเมื่อเขาสารภาพว่าในชั่วขณะของความอ่อนแอเขาได้สูญเสียความบริสุทธิ์ของตน เขาประกาศว่าเขาลืมความภักดีต่อพระผู้ช่วยให้รอดในความหลงใหลชั่ววูบ แม้จะเป็นนักศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า แต่เขาไม่ได้เชื่อมโยงการศึกษากับการนำมาปฏิบัติใช้โดยดำเนินชีวิตเฉกเช่นพระคริสต์อย่างจริงจังทุกวัน
“สาวสวยคนหนึ่งพยายามทำตามข้อกำหนดทั้งหมดเพื่อให้ได้การรับรองความเป็นเยาวชนหญิง เธอเขียนเป้าหมายส่วนตัวอย่างละเอียดและสอดไว้อย่างดีในสมุดเตือนความจำของเธอ เธอเขียนว่าเธอจะออกเดทเฉพาะกับชายหนุ่มที่มีค่าควรเท่านั้นและหาคนพิเศษคนนั้นที่จะพาเธอไปพระวิหาร เมื่อเธออายุสิบแปดปี เธอลืมเป้าหมายดังกล่าว เธอหนีตามเด็กหนุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาสนจักร คนที่รักเธอมากที่สุด—พ่อแม่ ครู และเพื่อนๆ ต้องหลั่งน้ำตา เธอตกลงไปในความว่างเปล่าอันน่าสะพรึงกลัวระหว่างข้อกำหนดของกฎกับความเป็นจริงของการเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริง” (“Eliminating the Void between Information and Application,” CES satellite training broadcast, Aug. 2003, 17, si.lds.org)
-
เหตุใดการรู้จักพระบัญญัติจึงไม่มากพอจะทำให้เรามีคุณสมบัติคู่ควรที่จะรับความรอด
ให้ดูภาพอบินาไดอยู่ต่อหน้ากษัตริย์โนอาห์ (62042; หนังสือภาพพระกิตติคุณ [2009], ภาพที่ 75) ขอให้นักเรียนอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในภาพนี้ (กษัตริย์สั่งให้ฆ่าอบินาได พระเจ้าทรงคุ้มครองอบินาได) เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเรื่องนี้ ท่านอาจให้นักเรียนสามคนอ่านแบบบทละคร นักเรียนคนหนึ่งจะเป็นผู้บรรยาย นักเรียนคนที่สองจะอ่านถ้อยคำของกษัตริย์โนอาห์ นักเรียนคนที่สามจะอ่านถ้อยคำของอ-บินาได อันดับแรก ขอให้ผู้บรรยายและนักเรียนที่เป็นโนอาห์อ่านส่วนของพวกเขาใน โมไซยาห์ 13:1–2 จากนั้นให้นักเรียนที่เป็นอบินาไดตอบโดยใช้ โมไซยาห์ 13:3–4 จากนั้นผู้บรรยายจะอ่าน โมไซยาห์ 13:5–6 แล้วนักเรียนที่เป็นอบินาไดจะจบด้วย โมไซยาห์ 13:7–11
ดึงความสนใจของนักเรียนมาที่ โมไซยาห์ 13:11
-
ท่านคิดว่าการให้พระบัญญัติเขียนในใจเราหมายความว่าอะไร (ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าเพื่อให้พระบัญญัติเขียนในใจเรา เราต้องรู้จัก และ ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ)
ชี้ให้เห็นว่าก่อนที่โนอาห์หมายมั่นจะให้ฆ่าอบินาได อบินาไดเริ่มท่องพระคัมภีร์ข้อหนึ่งที่กษัตริย์กับพวกปุโรหิตน่าจะคุ้นเคยดีและเป็นหลักฐานยืนยันความชั่วร้ายของพวกเขา ให้ชั้นเรียนอ่าน โมไซยาห์ 12:34–36 ในใจเพื่อดูว่าพวกเขาคุ้นกับพระคัมภีร์ที่อบินาไดอ่านให้โนอาห์กับพวกปุโรหิตฟังหรือไม่ ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าอบินาไดได้เริ่มท่องพระบัญญัติสิบประการ
วาดแผ่นศิลาเปล่าขนาดใหญ่สองแผ่นบนกระดาน เชิญนักเรียนคนหนึ่งเขียนพระบัญญัติสิบประการข้อหนึ่งในแผ่นศิลาแผ่นใดแผ่นหนึ่ง ให้นักเรียนคนนั้นส่งชอล์กให้นักเรียนอีกคนหนึ่งออกมาเขียนพระบัญญัติสิบประการอีกข้อ ทำซ้ำจนนักเรียนเขียนทั้งหมดที่พวกเขาจำได้ เชื้อเชิญพวกเขาให้ตรวจคำตอบใน โมไซยาห์ 12:34–36 และ 13:12–24 ท่านอาจต้องการกระตุ้นพวกเขาให้ทำเครื่องหมายพระบัญญัติสิบประการในข้อเหล่านี้และใน อพยพ 20:3–17 (ข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์)
แบ่งปันคำกล่าวต่อไปนี้จากประธาน กอร์ดอนบี. ฮิงค์ลีย์
“พระบัญญัติสิบประการเขียนโดยนิ้วพระหัตถ์ของพระเยโฮวาห์บนแผ่นศิลาเพื่อความรอดและความปลอดภัย เพื่อความมั่นคงและความสุขของลูกหลานแห่งอิสราเอล และเพื่อคนทุกรุ่นซึ่งจะมาหลังจากพวกเขา” (“Our Solemn Responsibilities,” Ensign, Nov. 1991, 51)
กระตุ้นนักเรียนให้ทบทวนพระบัญญัติสิบประการและพิจารณาถึงความพยายามรักษาพระบัญญัติของพวกเขาเอง
โมไซยาห์ 13:27–14:12
อบินาไดสอนเรื่องความรอดผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์
เขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน (ท่านอาจต้องการเขียนไว้ก่อนเริ่มชั้นเรียน) ขอให้นักเรียนตรึกตรองว่าจะเติมอะไรในช่องว่าง
อ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์
“หลังจากการเชื่อฟังและงานดีทั้งหมดของเรา เราไม่สามารถรับการช่วยให้รอดจากความตายหรือผลของบาปส่วนตัวได้หากปราศจากพระคุณที่มอบให้โดยการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ พระคัมภีร์มอรมอนให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ โดยสอนว่า ‘ความรอดไม่ได้มาโดยกฎอย่างเดียว’ (โมไซยาห์ 13:28) อีกนัยหนึ่ง ความรอดไม่ได้มาโดยการรักษาพระบัญญัติเท่านั้น … แม้แต่คนที่พยายามเชื่อฟังและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าสุดใจ พลัง ความนึกคิด และพละกำลังของพวกเขาก็ยังเป็น ‘ผู้รับใช้ที่ไม่สมค่า’ (โมไซ-ยาห์ 2:21) มนุษย์ไม่สามารถหาความรอดมาให้ตนเองได้” (“Another Testament of Jesus Christ,” Ensign, Mar. 1994, 67)
เติมข้อความบนกระดานให้ครบถ้วนโดยเขียนว่า พระคุณที่มอบให้โดยการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ จากนั้นขอให้นักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก โมไซยาห์ 13:28, 32–35 ขอให้ชั้นเรียนมองหาคำและวลีที่สัมพันธ์กับคำกล่าวของเอ็ลเดอร์โอ๊คส์ เชิญนักเรียนหลายๆ คนแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบ (คำตอบอาจได้แก่ “การชดใช้” “การไถ่ของพระผู้เป็นเจ้า” การเสด็จมาของพระเมสสิยาห์” และสัญญาที่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าเองจะเสด็จลงมาในบรรดาลูกหลานมนุษย์”)
อธิบายว่าคำกล่าวของอบินาไดเกี่ยวกับ “กฎ” ใน โมไซยาห์ 13:28 และ 32 เป็นการอ้างกฎของโมเสส ซึ่งรวมถึงพระบัญญัติที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการพลีบูชา เทศกาลต่างๆ และการปฏิบัติอื่นๆ กฎให้ไว้เพื่อช่วยให้ชาวอิสราเอลระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าและตั้งตารอการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ชาวอิสราเอลจำนวนมากไม่เข้าใจบทบาทของพระเยซูคริสต์ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดของพวกเขา โดยคิดว่าพวกเขาจะได้รับการช่วยให้รอดผ่านการเชื่อฟังกฎของโมเสสเท่านั้น
-
อบินาไดเป็นพยานว่า ไม่มีคนใดได้รับการช่วยให้รอดเว้นแต่จะผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ (ดู โมไซยาห์ 13:28, 32) เหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องเข้าใจความจริงนี้
อธิบายว่าเมื่ออบินาไดกล่าวแก่โนอาห์และพวกปุโรหิต ท่านอ้างคำพยากรณ์บางส่วนของอิสยาห์เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เชื้อเชิญนักเรียนให้อ่าน โมไซยาห์ 14:3–12 ในใจ ขอให้พวกเขามองหาคำหรือวลีที่บอกสิ่งซึ่งพระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อทำให้พวกเขาได้รับความรอด
หลังจากนักเรียนศึกษาข้อเหล่านี้ได้สองสามนาทีแล้ว ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบ ท่านอาจจะเขียนคำตอบของพวกเขาไว้บนกระดาน เพื่อช่วยให้นักเรียนนึกถึงความเศร้าโศกและโทมนัสที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงแบกรับแทนพวกเขาและเพื่อช่วยให้พวกเขานึกถึงความทุกขเวทนาของพระองค์เพราะบาปของพวกเขา ขอให้อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ให้พวกเขาฟัง เชื้อเชิญพวกเขาให้เติมข้อความเหล่านี้ให้ครบถ้วนในใจ
พระเยซูคริสต์ทรงแบกรับโทมนัสของฉัน เช่น …
พระเยซูคริสต์ทรงได้รับบาดเจ็บและทรงฟกช้ำเพราะการล่วงละเมิดของฉัน เช่น …
ถามนักเรียนว่าข้อความต่อไปนี้มีความหมายต่อพวกเขาอย่างไร “ด้วยริ้วรอยของพระองค์ เราได้รับการรักษาให้หาย” (โมไซยาห์ 14:5) ท่านอาจต้องอธิบายว่าคำว่า ริ้วรอย หมายถึงบาดแผลที่หลงเหลือบนพระวรกายของพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อพระองค์ทรงถูกโบยหรือถูกเฆี่ยน (ดู ยอห์น 19:1) โดยทั่วไป คำนั้นหมายถึงความทุกขเวทนาทั้งหมดของพระองค์
หลังจากนักเรียนแบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับข้อความนี้แล้ว จงเป็นพยานว่าโดยผ่านความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดและความพยายามของเราเพื่อรักษาพระบัญญัติ เราจะได้รับสันติสุขและการให้อภัยในชีวิตนี้และความรอดในชีวิตที่จะมาถึง (ดู คพ. 59:23; หลักแห่งความเชื่อ 1:3) เชื้อเชิญนักเรียนให้แสดงความรักและความสำนึกคุณต่อพระผู้ช่วยให้รอดโดยการรักษาพระบัญญัติ