บทที่ 68
โมไซยาห์ 28–29
คำนำ
เมี่อพวกบุตรของกษัตริย์โมไซยาห์เปลี่ยนใจเลื่อมใสแล้ว พวกเขารู้สึกปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสั่งสอนพระกิตติคุณแก่ชาวเลมัน หลังจากทูลถามพระเจ้าและได้รับการยืนยันว่าพวกเขาจะได้รับความสำเร็จและความคุ้มครอง โมไซยาห์จึงอนุญาตให้พวกเขาไป ขณะเดียวกันโมไซยาห์ก็ทำงานเพื่อดูแลบันทึกศักดิ์สิทธิ์ที่ฝากฝังไว้กับเขา เขาแปลบันทึกของชาวเจเร็ด จากนั้นจึงมอบบันทึกทั้งหมดให้แอลมาผู้บุตร เพราะพวกบุตรของเขาปฏิเสธโอกาสการเป็นกษัตริย์ เขาจึงตั้งระบอบผู้พิพากษาให้เป็นการปกครองรูปแบบใหม่ในแผ่นดิน
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
โมไซยาห์ 28:1–9
พวกบุตรของโมไซยาห์ปรารถนาจะสั่งสอนชาวเลมัน
ก่อนชั้นเรียน ให้เขียนข้อความต่อไปนี้ไว้บนกระดาน
เพื่อเริ่มชั้นเรียน ขอให้นักเรียนใช้ข้อความบนกระดานประเมินตนเองในใจ ให้พวกเขาใช้ระดับประเมิน 1 ถึง 10 โดยเลข 1 บ่งบอกว่าข้อความนั้นบรรยายเกี่ยวกับพวกเขาไม่ถูกต้องและเลข 10 บ่งบอกว่าข้อความนั้นบรรยายเกี่ยวกับพวกเขาได้ถูกต้องมาก
เชื้อเชิญนักเรียนให้อ่าน โมไซยาห์ 27:8–10 ในใจ
-
แอลมาและพวกบุตรของโมไซยาห์จะถูกประเมินให้อยู่ระดับเดียวกันนี้ในชีวิตพวกเขาอย่างไร
ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมไซยาห์ 28:1–4
-
พวกบุตรของโมไซยาห์จะถูกประเมินให้อยู่ในระดับเดียวกันนี้หลังจากการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของพวกเขาอย่างไร วลีใดใน โมไซยาห์ 28:1–4 แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเปลี่ยนไปมาก
-
เหตุใดความปรารถนาของพวกบุตรของโมไซยาห์จึงเปลี่ยนไป (พวกเขาใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ กลับใจจากบาปทั้งหมด และเปลี่ยนใจเลื่อมใส; ดู โมไซยาห์ 27:34–36 ท่านอาจต้องการอ้าง โมไซยาห์ 28:4 ด้วยเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงมีอิทธิพลต่อพวกเขาอย่างไร)
-
จากสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับชาวเลมันในประวัติศาสตร์ช่วงนี้ของพวกเขา ผู้สอนศาสนาประสบความยุ่งยากอะไรบ้างในบรรดาคนเหล่านี้
-
ตามที่กล่าวไว้ใน โมไซยาห์ 28:2 พวกบุตรของโมไซยาห์เชื่อว่าการสั่งสอนของพวกเขาจะส่งผลกระทบอะไรบ้างในชีวิตของชาวเลมัน
-
การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของพวกบุตรของโมไซยาห์มีอิทธิพลอย่างไรต่อความปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณ เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรได้บ้างจากประสบการณ์ของพวกเขา (สรุปคำตอบของนักเรียนโดยเขียนหลักธรรมต่อไปนี้บนกระดาน: เมื่อการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเราลึกซึ้งขื้น ความปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณจะเพิ่มตาม
ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ท่านอาจต้องการกระตุ้นนักเรียนให้เขียนคำกล่าวนี้ลงในช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ใกล้กับ โมไซยาห์ 28:1–4
“ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของเราที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณเป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับการเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนตัวของเรา” (“การแบ่งปันพระกิตติคุณ, เลียโฮนา, ม.ค. 2002, หน้า 8)
เชื้อเชิญนักเรียนให้ไตร่ตรองว่าความปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นเพิ่มขึ้นอย่างไรเมื่อพวกเขาใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น
-
ประสบการณ์ใดบ้างในชีวิตท่านที่ได้นำท่านให้ต้องการแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น
ขอให้นักเรียนสมมติว่าพวกเขารู้จักเยาวชนชายคนหนึ่งที่เป็นสมาชิกศาสนจักรแต่มีความประสงค์เพียงน้อยนิดที่จะรับใช้งานเผยแผ่เต็มเวลา
-
เยาวชนชายคนนี้จะทำอะไรได้บ้างเพื่อเพิ่มพูนความปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณ (ขณะที่นักเรียนแบ่งปันข้อคิด จงกระตุ้นพวกเขาให้นึกว่าอะไรทำให้พวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์อย่างลึกซึ้งและพวกเขาจะแนะนำกิจกรรมหรือประสบการณ์คล้ายๆ กันให้เยาวชนชายคนนี้อย่างไร ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าการเปลี่ยนใจเลื่อมใสมากขึ้นนำไปสู่ความปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นมากขึ้น)
ท่านอาจต้องการอธิบายว่าท่านได้รับความปรารถนาจะสอนพระกิตติคุณแก่ผู้อื่นอย่างไร ขณะทำเช่นนั้น ท่านอาจแบ่งปันประจักษ์พยานว่าเมื่อเราเข้าใกล้พระเจ้าและรู้สึกถึงพระวิญญาณของพระองค์ ความปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นจะเพิ่มขึ้น
ให้นักเรียนอ่าน โมไซยาห์ 28:5–8 และระบุว่าเหตุใดโมไซยาห์จึงยอมให้บุตรชายไปทำพันธกิจอันตรายเช่นนั้น
-
ในการตอบคำสวดอ้อนวอนของโมไซยาห์ พระเจ้าทรงสัญญาพรใดบ้างกับพวกบุตรของโมไซยาห์
โมไซยาห์ 28:10–20
โมไซยาห์แปลแผ่นจารึกของชาวเจเร็ดและมอบบันทึกศักดิ์สิทธิ์ให้แอลมา
วาดภาพบนกระดานดังนี้
ชี้ให้ดูภาพมงกุฎ และให้นักเรียนคนหนึ่งอ่าน โมไซยาห์ 28:10 ขอให้ชั้นเรียนมองหาปัญหาที่กษัตริย์มีเมื่อพวกบุตรของเขาไปทำงานเผยแผ่ (เขาต้องหาคนมารับตำแหน่งกษัตริย์)
สรุป โมไซยาห์ 28:11–19 โดยอธิบายว่าโมไซยาห์ชรามากแล้ว และเขาหันความสนใจบางส่วนไปยังบันทึกศักดิ์สิทธิ์ที่ฝากฝังไว้กับเขา บันทึกที่บิดามอบให้เขาและบอกเขาให้เก็บรักษาไว้และบันทึกที่กษัตริย์ลิมไฮมอบให้ ในฐานะผู้หยั่งรู้ เขาแปลบันทึกของชาวเจเร็ด—แผ่นจารึกซึ่งพบโดยกลุ่มคนที่กษัตริย์ลิมไฮส่งไปหาแผ่นดินแห่งเซราเฮ็มลา (ดู โมไซยาห์ 8:7–9) ดึงความสนใจของนักเรียนไปที่ภาพแผ่นจารึกทองคำบนกระดาน
อธิบายว่านอกจากแต่งตั้งผู้นำอาณาจักรแล้ว โมไซยาห์ยังต้องแต่งตั้งผู้ดูแลแผ่นจารึกเช่นกัน ขอให้นักเรียนอ่าน โมไซยาห์ 28:20 ในใจ
-
ใครได้รับบันทึกศักดิ์สิทธิ์
-
เหตุใดแอลมาจึงเป็นตัวเลือกที่ดีให้ดูแลบันทึกเหล่านี้
โมไซยาห์ 29
ผู้คนทำตามคำแนะนำของโมไซยาห์ให้วางระบอบผู้พิพากษาเป็นรูปแบบการปกครองของพวกเขา
ให้นักเรียนยกมือถ้าพวกเขาอยากเป็นกษัตริย์หรือราชินี เลือกนักเรียนคนหนึ่งในนั้นออกมาหน้าชั้นและยืนข้างมงกุฎที่วาดไว้บนกระดาน (หรือสวมมงกุฎกระดาษไว้บนศีรษะ) ให้นักเรียนบอกว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการเป็นกษัตริย์หรือราชินี
ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมไซยาห์ 29:1–3
-
ผู้คนต้องการให้ใครเป็นกษัตริย์ของพวกเขา
-
พวกบุตรของโมไซยาห์สละอะไรเพื่อจะได้สั่งสอนชาวเลมัน
-
เยาวชนชายและเยาวชนหญิงเสียสละหรือเลื่อนโอกาสอะไรบ้างในปัจจุบันนี้เพื่อจะได้รับใช้งานเผยแผ่
สรุป โมไซยาห์ 29:4–10 โดยอธิบายว่ากษัตริย์โมไซยาห์เป็นห่วงว่าการแต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่จะนำไปสู่การขัดแย้งและแม้กระทั่งสงคราม เขาพูดถึงปัญหาอื่นด้วยซึ่งจะเกิดขึ้นถ้ากษัตริย์ที่ไม่ชอบธรรมครองอำนาจ ให้นักเรียนอ่าน โมไซยาห์ 29:16–18 และระบุปัญหาเหล่านั้น
อธิบายว่ากษัตริย์โมไซยาห์เสนอว่าชาวนีไฟไม่ควรปกครองโดยกษัตริย์อีกต่อไป เขาเสนอระบอบผู้พิพากษาขึ้นมาแทน โดยให้เลือกผู้พิพากษาจากเสียงของผู้คน
ให้นักเรียนอ่าน โมไซยาห์ 29:11, 25 ในใจ โดยดูว่าผู้พิพากษาต้องพิพากษาผู้คนอย่างไร (“ตามพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า” และ “ตามกฎซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ให้ไว้แก่ท่าน”)
เขียนบนกระดานว่า โมไซยาห์ 29:26–27, 30, 33–34, 37–38 แบ่งชั้นเรียนออกเป็นคู่ๆ ให้นักเรียนค้นคว้าข้อเหล่านี้และระบุความรับผิดชอบของผู้คนในการปกครองที่กษัตริย์โมไซยาห์เสนอ จากนั้นให้แต่ละคู่สนทนาคำถามต่อไปนี้ (ท่านอาจต้องการเขียนคำถามเหล่านี้ไว้บนกระดานหรือเตรียมเป็นเอกสารแจก)
-
ตามที่กษัตริย์โมไซยาห์กล่าว การตัดสินใจโดยเสียงของผู้คนจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง (เขากล่าวว่าโดยทั่วไปเสียงของประชาชนไม่ปรารถนาสิ่งที่ “ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ถูกต้อง” เขาพูดเช่นกันว่าประชาชนทุกคนต้องแบกภาระการปกครองและมี “โอกาสเท่าเทียมกัน”)
-
จะเกิดผลลัพธ์อะไรบ้างถ้าเสียงของผู้คนเลือกความชั่วช้าสามานย์ (การพิพากษาของพระผู้เป็นเจ้าจะมาถึงพวกเขา และพวกเขาจะถูกทำลาย)
-
ใน โมไซยาห์ 29:34 ท่านคิดว่าอะไรคือความหมายของวลี “เพื่อทุกคนจะได้แบกส่วนของตน” วลีนี้ประยุกต์ใช้ได้อย่างไรกับความรับผิดชอบของพลเมืองเพื่อมีส่วนในการปกครองระดับชาติและระดับท้องถิ่น
อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“ทั้งผู้นำและผู้ตามต้องรับผิดชอบต่อความเสื่อมทรามที่เกิดขึ้นในสังคม … เป็นเรื่องง่ายที่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำที่เลว แต่เราไม่ควรมองข้ามพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม” (“กลับใจจากความเห็นแก่ตัว [ของเรา],” เลียโฮนา, ก.ค. 1999, หน้า 33)
-
เหตุใดจึงสำคัญที่ทั้งผู้นำและผู้ตามต้องรับผิดชอบการกระทำของตน
-
ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อสนับสนุนกฎหมายและผู้นำที่ชอบธรรม (ท่านอาจต้องการให้นักเรียนอ้าง หลักแห่งความเชื่อ 1:12)
แสดงความเชื่อมั่นของท่านว่าแม้ไม่ใช่ทุกประเทศในโลกที่ให้โอกาสเลือกผู้นำของตน แต่พระเจ้าจะทรงช่วยคนที่วางใจในพระองค์เสมอ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใด
เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมไซยาห์ 29:41–43
-
ผู้คนเลือกใครเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาคนแรก เขาดำเนินชีวิตสมกับความรับผิดชอบในการเป็นผู้นำที่ชอบธรรมและเที่ยงธรรมหรือไม่ การนำของเขาส่งผลอย่างไร
ขอให้นักเรียนอธิบายด้วยคำพูดของพวกเขาเองว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจาก โมไซยาห์ 29 พวกเขาอาจระบุความจริงบางข้อดังนี้
ผู้นำที่ไม่ชอบธรรมสามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งและบาป
โดยทั่วไปเสียงของผู้คนจะเลือกสิ่งที่ถูกต้อง
ถ้าผู้คนเลือกความชั่วช้าสามานย์ การพิพากษาของพระผู้เป็นเจ้าย่อมเกิดแก่พวกเขา
แต่ละบุคคลมีหน้าที่สนับสนุนกฎหมายและผู้นำที่ชอบธรรม
สรุปโดยแสดงประจักษ์พยานถึงหลักธรรมในบทเรียนวันนี้
การทบทวนโมไซยาห์
ใช้เวลาบางส่วนช่วยนักเรียนทบทวนหนังสือของโมไซยาห์ ขอให้พวกเขาตรึกตรองสิ่งที่เรียนรู้จากหนังสือนี้ ทั้งในเซมินารีและในการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัว หากจำเป็นท่านอาจเชื้อเชิญพวกเขาให้ดูคร่าวๆ เพื่อช่วยให้นึกออก หลังจากให้เวลามากพอแล้ว เชิญนักเรียนหลายๆ แบ่งปันความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องราวบางอย่างในหนังสือที่พวกเขาประทับใจ